โปรแกรมที่ใช้

มูเดิ้ล คืออะไร (What is Moodle?)




มูเดิ้ล  คือ โปรแกรมที่ประมวลผลในเครื่องบริการ (Server-Side Script) ทำหน้าที่ให้บริการระบบอีเลินนิ่ง ทำให้ผู้ดูแลระบบสามารถเปิดบริการแก่ครู และนักเรียน ผ่านบริการ 2 ระบบ คือ 1)ระบบซีเอ็มเอส หรือระบบจัดการเนื้อหาบริการให้ครูสามารถจัดการเนื้อหา เตรียมเอกสาร สื่อมัลติมีเดีย แบบฝึกหัดตามแผนการจัดการเรียนรู้ 2)ระบบแอลเอ็มเอส หรือระบบจัดการเรียนรู้ บริการให้นักเรียนเข้าเรียนรู้ตามลำดับ ตามช่วงเวลา ตามเงื่อนไขที่ครูได้จัดเตรียมอย่างเป็นระบบ และประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน พร้อมแสดงผลการตัดเกรดอัตโนมัติ

    ความสามารถของมูเดิ้ล
  1. เป็น Open Source ที่ได้รับการยอมรับ
    ตัวนี้ฟรี : ปัจจุบันสถาบันการศึกษาในไทย ยังไม่มีข้อตกลงเป็นเอกฉันท์ว่าจะใช้อีเลินนิ่งตัวใด แต่มีแนวโน้มเปลี่ยนไปใช้มูเดิ้ลเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ
  2. รองรับทั้ง ซีเอ็มเอส และ แอลเอ็มเอส
    ช่วยรวบรวมวิชาเป็นหมวดหมู่ เผยแพร่เนื้อหาของครู พร้อมบริการให้นักเรียนเข้ามาศึกษา บันทึกกิจกรรมของนักเรียน และตัดเกรด
  3. เป็นแหล่งเผยแพร่เอกสารออนไลน์ เช่น Microsoft Office, Web Page, PDF หรือ Image เป็นต้น
    ใจกว้าง ไม่หวงวิชา มีเอกสารที่เคยรวบรวมไว้ ก็ส่งเข้าไปเผยแพร่ได้โดยง่าย
  4. มี ระบบติดต่อสื่อสารระหว่างนักเรียน เพื่อนร่วมชั้น และครู เช่น chat หรือ webboard เป็นต้น
    นักเรียนฝากคำถาม ครูทิ้งการบ้านไว้ ครูนัดสนทนาแบบออนไลน์ ครูนัดสอนเสริม หรือแจกเอกสารให้อ่านก่อนเข้าเรียน ก็ได้
  5. มี ระบบแบบทดสอบ รับการบ้าน และกิจกรรม ที่รองรับระบบให้คะแนนที่หลากหลาย
    ให้ส่งงาน ให้ทำแบบฝึกหัด ตรวจให้คะแนนแล้ว export ไป excel ได้
  6. สำรองข้อมูลเป็น .zip แฟ้มเดียวได้ ทำให้ครูหรือนักเรียนนำไปกู้คืนในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใดก็ได้
    อย่างของผมทำวิชาระบบปฏิบัติการ แล้วเก็บเป็น .zip เปิดให้ Download ใครจะนำไปทดสอบกู้คืนในเครื่องตนเองก็ได้
  7. ผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์ และใจกว้าง ส่งเสริมเรื่องนี้เพราะ ครูได้ทำหน้าที่ นักเรียนได้เรียนรู้ และสถาบันยกระดับการให้บริการ ครูเตรียมสอนเพียงครั้งเดียว แต่นักเรียนเข้ามาเรียนกี่รอบก็ได้ จบไปเข้าแล้วกลับมาทบทวนก็ได้
แนะนำแหล่งโปรแกรม
+ Moodle http://download.moodle.org
+ Apache http://httpd.apache.org/
+ Appserv http://www.appservnetwork.com
+ Thaiabc http://www.thaiabc.com
+ PHP http://www.php.net/downloads.php
+ MYSQL http://www.mysql.com
+ โปรแกรมบริหาร mysql ด้วย PHPmyadmin
+ ตัวอย่างบทเรียนวิชา ระบบปฏิบัติการที่สำรองข้อมูลไว้ นำไปกู้คืนได้ 318 KB

รวมแหล่งคู่มือ moodle
    ชื่อแฟ้มด้านหลัง หมายถึง ชื่อแฟ้มที่ผมเก็บไว้แล้ว แต่ไม่เปิดให้ download ทั่วไป เพราะแฟ้มใหญ่มาก
  1. คู่มือผู้ดูแล (ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร) ๑ อำเภอ ๑ โรงเรียนในฝัน (สพฐ) 33 หน้า 3.71 MB [mdl_labschools_admin.pdf]
  2. คู่มือผู้ดูแล (ดร.กานดา รุณนะพงศา ม.ขอนแก่น) http://e-learning.en.kku.ac.th
  3. คู่มือผู้ดูแล (อ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ ม.โยนก) http://www.thaiall.com/e-learning/moodle.htm
  4. คู่มือนักเรียน (SUT-LMS ม.เทคโนโลยีสุรนารี) http://sutonline.sut.ac.th 1.14 MB [mdl_sut_lms.pdf]
  5. คู่มือผู้ดูแล (thaimoodle.net) http://www.thaimoodle.net/inst_moodle/install_Moodle_02.pdf 883 KB [mdl_thaimdl_inst.pdf]
  6. คู่มือครู (ดร.อนุชัย ธีระเรืองไชยศรี เภสัชศาสตร์ จุฬา) https://camel.me.psu.ac.th 4.4 MB [mdl_anuchai_teacher.pdf]
  7. คู่มือครู (ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.วลัยลักษณ์) https://camel.me.psu.ac.th 1.63 MB [mdl_wucenter_teacher.pdf]
  8. เอกสารจากการประชุมวิชาการด้าน e-Learning ที่ ม.ขอนแก่น http://www.idc.su.ac.th
  9. คู่มือติดตั้ง moodle 1.7 ใช้ appserv-win32-2.4.7 http://www.cmsthaicenter.com
  10. คู่มือผู้ดูแล (อ.เสรี ชิโนดม ม.บูรพา) http://course.buu.ac.th
  11. คู่มือผู้ดูแล (อ.นวพร กิตติพัฒนบวร ม.วลัยลักษณ์) http://mlearning.wu.ac.th/doc/manualMoodle1.pdf
  12. คู่มือผู้ดูแล (อ.สรวง(ศักดิเดช) ศรีแก้วทุม 01-5685296 รร.แม่เมาะวิทยา) http://www.comlampang.com
  13. Moodle Documents :: http://moodle.org/doc/ หรือ http://class.yonok.ac.th/doc/
    1. About : Background, Philosophy, License, Features, Release Notes, Future, Credits, Case for Moodle, ..
    2. Teacher : Getting Started, Editing A Course, Activity Modules, Resources, Blocks, General Advice
    3. Administrator : Planning your installation, Installation, Security and performance, Configuration, Users, ..
    4. Developer : Guidelines, Resources and tools, How you can contribute, Plans for the future, Doc. for ..
  14. เอกสารกว่า 1000 บทความ โดย ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน บิดาอีเลิร์นนิ่งไทย (Father of Thai E-learning)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น